วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

“ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง”

โดย.. ศุภกิจ จัติกุล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
สำนักงานเกษตรอำเภอฉวาง
จังหวัดนครศรีธรรมราช



1.ความเป็นมา

ชุมชนไม้เรียงเป็นชุมชนขนาดกลางแบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลตำบลไม้เรียง 2 หมู่บ้าน และในเขตปกครององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 8 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 1,593 ครอบครัว จำนวน ประชากร 7,697 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักในการทำสวนยางพาราซึ่งเป็นพืชเดี่ยวที่ผลไม้และทำนาข้าว เนื่องจากอาชีพหลักของคนส่วนใหญ่ในชุมชนคือการทำสวนยางพาราซึ่งเป็นพืชเดี่ยว ที่ผลผลิตขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศความมั่งคงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ราคาขึ้นอยู่กับตลาดโลก เหมือนกับพืชเศรษฐกิจทั่วไป ปัญหาต่างๆ จึงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

ประมาณปี พ.ศ. 2525 แกนนำของชุมชนกลุ่มหนึ่ง นำโดยนายประยงค์ รณรงค์ ได้ร่วมกันศึกษาค้นคว้า แนวทางปัญหา จนได้ข้อสรุปว่า ชาวสวนยางจะต้องกำหนดคุณภาพได้เอง กำหนดน้ำหนักเองกำหนดราคาเองได้ จึงจะแก้ปัญหาได้ จนถึงปี พ.ศ.2527 จึงได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียงขึ้น และระดมทุนลงหุ้นกันในวงเงิน 1 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานแปรรูปน้ำยางสด โดยมีสมาชิกครั้งแรก จำนวน 37 คน ทำการผลิตยางแผ่นอบแห้ง กำลังการผลิตวันละ 1.5 ตัน ขายให้กับพ่อค้าผู้ส่งออก โดยทำการซื้อขายกันที่ท่าเรือกรุงเทพฯ

ถึงแม้กลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียง มีสมาชิกเพิ่มเป็น 176 ครอบครัว มีความพอใจในการ
แก้ปัญหาอาชีพหลักได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีปัญหาอื่น ๆ อีกมากมายที่ยังไม่ได้ทำการแก้ไขไปพร้อมกันและพบว่าส่วนใหญ่ปัญหาก็เกี่ยวโยงกันถ้าไม่แก้พร้อม ๆ กัน ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ จึงได้มีการจัดสัมมนาใหญ่
สรุปบทเรียนของชุมชนขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของ “ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง”
เดือนมีนาคม 2535 ได้มีการจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง” เพราะศรัทธา
ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีสถานที่ทำการ ณ เลขที่ 117 หมู่ที่ 9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

2. วัตถุประสงค์
2.1 ทำการศึกษาวิจัย ค้นคว้าสาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา แนวทางป้องกันปัญหา เป้าหมายการพัฒนา ชึ่งใช้ฐานข้อมูลของชุมชน ดำเนินการโดยชุมชนเป็นหลัก
2.2 จัดกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการจะรู้ เพราะต้องรู้ในสิ่งที่จะทำ และทำในสิ่งที่รู้จริง นอกจากให้รู้ในสิ่งที่เขาต้องการรู้แล้วยังการสอดแทรกสิ่งที่เขาควรจะรู้เข้าไปในทุกหลักสูตรด้วย
2.3 นำสิ่งที่ได้ทำการศึกษาวิจัยจนได้ข้อสรุปแล้วลงสู้การปฏิบัติ สร้างตัวอย่างที่ดี ๆ เพื่ออ้างอิงในการขยายผล
2.4 นำผลจากการปฏิบัติจริงทำการขยายผลไปสู่ที่อื่น ๆ จนได้รับการยอมรับแล้ว ผลักดันเป็นนโยบายรัฐในโอกาสที่เหมาะสม

3. เป้าหมาย

3.1 เป็นศูนย์ข้อมูลชุมชนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์วิจัยในสถานการต่าง ๆ และสนับสนุนด้านข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 เป็นศูนย์ประสานงาน ภาคีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชุมชน

4. การดำเนินการ

“ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง” ได้เริ่มต้นทำการศึกษาชุมชนเพื่อหาศักยภาพมาใช้ในการพัฒนา ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้
4.1 ระดมคนโดยการวิเคราะห์ชุมชนเพื่อค้นหาคนที่จะร่วมมือทำงาน พบว่าในชุมชนมีคนอยู่ประมาณ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นคนที่ค่อนข้างร่ำรวย อยู่ดีกินดี แล้วซึ่งมีอยู่ไม่เกินร้อยละ 15 กลุ่มนี้ไม่ค่อยคิดเรื่องงานเรื่องรายได้ทุกวันทุกชั่วโมงต้องเป็นเงินเป็นทองหมด กลุ่มที่สองอาจจะมั่งมีหรือยังอยู่ก็มีแต่มีความคิดเป็นสาธารณะอยากร่วมมือกับผู้อื่น ในการแก้ปัญหาในการพัฒนา อยากเห็นความเปลี่ยนแปลง อยากเห็นคนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กลุ่มนี้ก็มีอยู่ไม่เกินร้อยละ 20 ส่วนกลุ่มที่เป็นคน
ส่วนใหญ่มีประมาณ ร้อยละ 60-70 เป็นกลุ่มคนที่อะไรก็ได้ แต่ไม่ร่วมด้วยในตอนแรก รอให้คนอื่นเริ่มต้นทำก่อนถ้าเป็นไปได้หรือจะได้ประโยชน์เขาก็จะเข้ามาเอาประโยชน์ด้วย หลังจากที่แกนนำชุมชนประมาณ 12 คน ได้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ที่กล่าวมาแล้ว จึงได้ช่วยกันค้นหาคนเน้นในกลุ่มที่สองเป็นหลัก และได้อาสาสมัครมาหมู่บ้านละ 5 คน รวม 8 หมู่บ้าน 40 คน
4.2 ระดมความคิด โดยร่วมกันกำหนดหลักสูตรขึ้นมาเพื่อสร้างการเรียนรู้และพัฒนาผู้นำทั้ง 40 คน มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถระดับหนึ่ง จึงได้จัดตั้งเป็นสภาผู้นำชุมชนตำบลไม้เรียงขึ้น
4.3 สร้างระบบการทำงาน โดยแบ่งความรับผิดชอบให้แต่ละคน แต่ละพื้นที่กำหนดกิจกรรมตามข้อมูลที่ไน ใคร เหมาะที่จะทำอะไร ทำเพราะอะไร ทำอย่างไร ใครคือคนทำ ใครได้รับประโยชน์ ข้อสรุปต่างๆ
4.4 การกำหนดกิจกรรม “ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง” ได้ทำกิจกรรมอยู่ 3 ด้าน ด้วยกันคือ

4.4.1 การพัฒนาอาชีพหลัก โดยมีกลุ่มเกษตรกรทำสวนไม้เรียงเป็นองค์การการจัดการเน้นหนักการทำสวนยางพารา มีโรงงานแปรรูปน้ำยางสดเป็นยางแผ่นอบแห้ง ยางแผ่นรมควัน หรือตามที่ตลาดต้อง
4.4.2 จัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพรอง อาชีพเสริม ตามความต้องการของผู้เรียน เช่น
- หลักสูตรการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
- หลักสูตรการเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน
- หลักสูตรการเลี้ยงกบแบบคอนโด
-หลักสูตรการเพาะเห็ดด้วยขี้เลื่อยไม้ยางพารา
-หลักสูตรการผลิตมังคุดคุณภาพดีส่งออก
- หลักสูตรการผลิตของใช้ในครัวเรือน
- หลักสูตรการปลูกพืชผักผลไม้ปลอดสารพิษ
- หลักสูตรการผลิตหมัก ปุ๋ยอินทรีย์
- หลักสูตรการทำขนมจีนเส้นสด
ทุกหลักสูตรมีฐานฝึกภาคปฏิบัติในพื้นที่โดยร่วมมือกับ 3 ฝ่าย “ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียง”
การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอฉวาง และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกันรับผิดชอบ
4.4.3 จัดการเรียนรู้ทางวิชาการ ตั้งแต่ระดับศึกษา มัธยมศึกษา ถึงอุดมศึกษา(ปริญญาตรี)
4.4.4 สร้างภาคีความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ และสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันทำการวิจัยในเรื่องต่าง ๆ ที่เห็นว่ามีความจำเป็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น